ความแตกต่างของฟิลเตอร์ห้องพ่นสีและฟิลเตอร์กรองฝุ่นทั่วไป ?
การกรองของห้องพ่นสีมีกี่ขั้นตอน?? ?
ความแตกต่างของฟิลเตอร์แต่ละชนิด??
ต้องเลือกใช้ฟิลเตอร์แบบไหนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด?
ก่อนอื่นต้องพูดถึงการออกแบบห้องพ่นสี ไลน์พ่นสี หรือ รวมถึงห้องพ่นอบสีตามอู่ซ่อมสีและตัวถัง ซึ่งการออกแบบห้องพ่นจะมีหลักการทำงานที่ต่างจากการกรองฝุ่นโดยทั่วไป เนื่องจากโดยทั่วไปการออกแบบระบบกรองฝุ่นจะเน้นการใช้งานที่ความเร็วลมผ่านฟิลเตอร์ให้ต่ำที่สุดเพื่อลดเสียงรบกวน เพื่อค่าความดันตกคร่อมที่ต่ำเพื่อการประหยัดพลังงานและ ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้สูงสุด แต่การออกแบบห้องพ่นจะเน้นในเรื่องของความเร็วลมแต่ละจุดให้ได้ค่าที่กำหนด เนื่องจากเราต้องใช้ประโยชน์จากความเร็วลมที่จ่ายจากด้านบนลงล่าง เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางของละอองสีที่เกิดจากการพ่นให้ตกลงบริเวณที่ออกแบบ ซึ่งจะทำให้การพ่นชิ้นงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ฟิลเตอร์สำหรับห้องพ่นสี จะมีส่วนหลักๆอยู่3ส่วนคือ
ฟิลเตอร์กรองชั้นต้น(ถุงกรองลมเข้า)
เป็นส่วนแรกที่พัดลมดูดอากาศจากภายในเข้าสู่ระบบซึ่งผู้ผลิตห้องพ่นหรือไลน์ผลิต จะออกแบบและเลือกใช้ฟิลเตอร์จากปริมาณลม หากมีปริมาณลมสูงจะเลือกใช้ถุงกรองเพื่อให้ประสิทธิภาพในการกรองสูงขึ้นและเพิ่มอายุการใช้งานของฟิลเตอร์กรองฝุ่น ทั้งนี้ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีการใช้ขนาดและจำนวนถุงกรองที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้หากทำการเปลี่ยนฟิลเตอร์ชุดดูดอากาศ ไม่ควรใช้ถุงกรองที่มีปริมาตรการกรองต่ำกว่าของเดิมของชุดออกแบบ โดยฟิลเตอร์ชั้นต้นโดยทั่วไปจะใช้การกรองขั้นต่ำคือ G3 เพื่อให้สามารถจับฝุ่นหยาบ 5-10 ไมครอนได้
ฟิลเตอร์เพดาน(Ceiling filter)
กรองเพดานเป็นตัวกรองหลักสำหรับห้องพ่นสี ซึ่งมาตรฐานโดยทั่วไปจะอยู่ในคลาส M5 ซึ่งสามารถจับฝุ่นขนาด 1 ไมครอนได้ ซึ่งเพียงพอต่อระบบพ่นสี เนื่องจากขนาดฝุ่นที่เล็กกว่า 1 ไมครอนเม็ดสีสามารถกลบฝุ่นได้และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อชิ้นงาน ซึ่งในปัจจุบันฟิลเตอร์เพดานมีหลากหลายชนิด เช่น ชนิดไม่มีกาวไม่มีตาข่าย(300-350g) ชนิดมีกาวมีตาข่ายไฟเบอร์กลาส(550-600g) และ ชนิดมีกาวหลังผ้า(560g)ซึ่งเริ่มใช้งานในทวีปยุโรปอย่างแพร่หลาย ซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีราคาและประสิทธิภาพในการจับฝุ่นที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากฟิลเตอร์เพดานเป็นชุดหลักในการควบคุมฝุ่นในระบบ ผู้ใช้งานจึงควรพิจาณาเปลี่ยนเมื่อฟิลเตอร์เสื่อมประสิทธิภาพ
ฟิลเตอร์กรองพื้น(ใยแก้วดักละอองสี)
ฟิลเตอร์พื้นหรือใยแก้ว เป็นตัวดักเม็ดสีส่วนเกินที่ฟุ้งกระจายจากการพ่นชิ้นงาน ซึ่งการสังเกตุฟิลเตอร์กรองพื้นที่ดีควรเลือกใช้สินค้าที่มีความหนาฟูมากกว่า 50-75MM. ขึ้นไปเพื่อให้สามารถดักจับละอองสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งใยแก้วดังกล่าวจะทำหน้าที่ไม่ให้สีที่พ่นในระบบไปตันที่พัดลมดูดลมออก ซึ่งการออกแบบของผู้ผลิตบางรายอาจใช้ Overspray pleated filter ในการดักละอองสีและเปลี่ยนทิศทางลมเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของฟิลเตอร์กรองพื้นได้
ฟิลเตอร์ชุดลมออก
ในชุดดูดลมออกของห้องพ่นแต่ละที่จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันไปและส่วนประกอบต่างกัน แต่ที่จะมีเหมือนกันคือถุงกรองลมออกซึ่งมีหน้าที่ดักฝุ่นและเศษละอองสีที่หลุดมาจากในระบบก่อนที่จะปล่อยหรือย้อนกลับไปผสมกับชุดลมเข้า ซึ่งกรณีไลน์ผลิตที่เป็นเตาอบอาจใช้ฟิลเตอร์เตาอบสำหรับกรองที่อุณหภูมิสูง เป็นตัวกรองซึ่งช่วยในการรักษาอุณหภูมิและประหยัดพลังงาน ในส่วนที่เพิ่มเติมจะเป็นชุดกรองคาร์บอน ซึ่งทั้งโรงงานและอู่ซ่อมสีตัวถัง ที่อยู่ในเขตชุมชน ต้องใช้เป็นชุดเสริมสำหรับกำจัดกลิ่นที่เกิดขึ้นในระบบ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในระบบพ่นสี!!!!!!!!
ส่วนประกอบต่างๆสีที่ใช้ในการพ่น โดยเฉพาะไลน์พ่นสีตามโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนประกอบต่างๆเป็นวัตถุไวไฟที่มีอันตราย อย่างมากดังนั้นจึงควรระวังแม้กระทั่งไฟฟ้าสถิตที่จะเกิดขึ้น ผู้ใช้ทำงานควรหาอุปกรณ์ป้องกันต่างๆไม่ว่าจะเป็นชุดพ่นสี หรือการเลือกใช้ฟิลเตอร์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในการทนต่อเปลวไฟ (ผ่านการทดสอบการลามไฟ ตามมาตรฐานสากล) ซึ่งเป็นสิ่งที่จำสำคุญและไม่ควรมองข้าม